มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - ต้องถนอมมิตรแท้
ราชสีห์ไม่สามารถยั้งความเร็วไว้ได้ จึงตกลงไปในเปือกตม เท้าทั้งสี่ขยับเขยื้อนไม่ได้เลย จึงต้องยืนปักเท้าทั้งสี่เหมือนเสาเรือน อดอาหารอยู่ ๗ วัน ไม่มีสัตว์ตัวไหนกล้าเดินมาใกล้บริเวณนั้นเลย ในวันที่แปด มี สุนัขจิ้งจอก ตัวหนึ่ง เที่ยวหาอาหารมาถึงบริเวณนั้นพอดี ครั้นเห็นราชสีห์ก็รีบทำท่าจะวิ่งหนี ราชสีห์รีบพูดปลอบสุนัขจิ้งจอกว่า
มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต - วาจาอันเป็นที่รัก
ภรรยาของบุรุษมีอยู่ ๗ จำพวก เธอเป็นภรรยาพวกไหนใน ๗ จำพวกนั้น (พระบรมศาสดาตรัสถามนางสุชาดา) แล้วภรรยา ๗ จำพวกนั้นเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง เช่น ภรรยาเยี่ยงเพชฌฆาต , ภรรยาเยี่ยงโจร ฯลฯ
มงคลที่ ๓ บูชาบุคคลที่ควรบูชา - อานิสงส์ของการสรรเสริญพุทธคุณ
ทันทีที่สิ้นสุดคำพยากรณ์ มหาปีติอันไม่มีประมาณได้บังเกิดขึ้นมาอย่างท่วมท้น พระฤๅษีเกิดอัศจรรย์ใจยิ่งนักว่า ผลแห่งการบูชาเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมนี้ น่าอัศจรรย์เหลือเกิน มหาสมบัติจะบังเกิดขึ้นในอนาคต เพราะการสรรเสริญพระคุณของพระตถาคตเจ้า ท่านก้มลงกราบแทบพระบาทของพระพุทธเจ้า ด้วยความเคารพอย่างสูงสุด
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - สัมมาทิฏฐิ ( ๗ )
บาปอกุศลอันหนักของอลาตเสนาบดียังรอคอยการให้ผลอยู่ แต่ที่เขาได้รับความสุขอยู่ในบัดนี้ เพราะผลบุญที่เคยทำไว้ บัดนี้ผลบุญของอลาตเสนาบดีใกล้จะหมดแล้ว จึงทำให้ยินดีในอกุศล เมื่ออกุศลกรรมให้ผล เขาย่อมเข้าถึงทุคติอย่างแน่นอน
มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต - ผลแห่งอริยวาจา
วาจาที่เปล่งออกจากปาก จะทำให้เป็นบุญเป็นกุศลก็ได้ หรือเราจะให้เป็นหอก เป็นเข็มที่มาทิ่มแทงจิตใจคนอื่นก็ได้ แต่บัณฑิตนักปราชญ์ทั้งหลาย ท่านจะใช้วาจาเป็นประดุจดอกไม้หอม เพื่อบูชาพระรัตนตรัย วาจาอย่างนี้แหละชื่อว่า อริยวาจา วาจาที่ประเสริฐ ที่เป็นทางมาแห่งความเป็นพระอริยเจ้า เป็นวาจาที่สามารถเปลี่ยนตัวเราเอง ดังเรื่องของพระอธิมุตตเถระ
มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตลอดกาล - บุญต้อนรับผู้ทำความดี
อุบาสกซึ่งเป็นผู้เคารพในธรรม เมื่อกำลังฟังธรรมอยู่ ก็ไม่อยากให้การฟังธรรมหยุดชะงักไป จึงได้กล่าวกับเทวดาทั้งหลายว่า ขอท่านจงรอก่อนๆ พระ ภิกษุซึ่งกำลังสวดสาธยายธรรมอยู่ เข้าใจว่าอุบาสกให้หยุด จึงได้หยุดสวดและปรึกษากันวา คงไม่เป็นโอกาสเหมาะในการสาธยายธรรมเสียแล้ว ดังนั้นลุกจากอาสนะแล้วเดินทางกลับวัด ฝ่ายบุตรและธิดา ของเขานึกว่าพ่อห้ามพระสวดมนต์ก็รู้สึกเสียใจ
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - สัมมาทิฏฐิ ( ๓ )
"ระหว่างพระพุทธเจ้ากับท่านอุรุเวลกัสสปะ ใครหนอจะมีอานุภาพมากกว่ากัน" พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงล่วงรู้ความคิดของชาวเมือง จึงตรัสถามท่านว่า "ดูก่อนกัสสปะ ท่านเคยเป็นอาจารย์สั่งสอน หมู่ชฎิลผู้ผ่ายผอมเพราะกำลังประพฤติพรต ท่านเห็นอะไรจึงได้ ละไฟที่เคยบูชาเสียเล่า ท่านเห็นประโยชน์อะไรจึงมาประพฤติพรหมจรรย์กับเรา"
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - สัมมาทิฏฐิ ( ๖ )
พระราชาสดับเช่นนั้น ทรงปฏิเสธทันทีว่า "ลูก เอาทรัพย์ไปใช้เช่นนี้ไม่เกิดประโยชน์เลย เลิกให้ทานเถิดลูก ลูกควรจะนำทรัพย์ที่พ่อจะให้นี้ ไปใช้จ่ายเที่ยวเล่นสนุกสนานให้เต็มที่ ไม่ต้องไปคิดถึงใคร และภพชาติต่อไปก็อย่าไปกังวล ลูกจงเก็บเกี่ยวความสุขในชาตินี้ให้เต็มที่เถิด"
มงคลที่ ๓ บูชาบุคคลที่ควรบูชา - ใจที่เลื่อมใสปิดอบายภูมิ
ในยุคนั้น พระสุสัญญกเถระบังเกิดในตระกูลมีชื่อเสียงตระกูลหนึ่ง เมื่อเจริญวัยขึ้นได้ฟังคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธ เจ้า ที่ตรัสให้เห็นภัยในวัฏสงสาร และอานิสงส์ของการทำใจให้เลื่อมใส ท่านเกิดศรัทธาอย่างยิ่งจึงคิดว่า เวลาชีวิตของมนุษย์นี้ ประเดี๋ยว ก็วันประเดี๋ยวก็คืน ควรที่เราจะรู้จักจับแง่คิดในการเอาบุญ รู้จักระวังไม่ให้อกุศลบังเกิดขึ้นในใจ ตั้งแต่นั้นมา ท่านตั้งใจสำรวมระวังตลอดเวลา ไม่ให้อกุศลทั้งหลายเข้ามาในใจของตน
มงคลที่ ๑๑ บำรุงบิดามารดา - แทนคุณอันสุดซึ้ง ต้องให้เข้าถึงธรรม
นักปราชญ์ได้กล่าวถึงพระคุณของพ่อแม่ว่า มีมากเกินกว่าที่จะพรรณนาให้หมดสิ้นได้ และเป็นการยากที่จะทดแทนพระคุณของท่านได้หมด เพราะนอกจากจะกตัญญูรู้คุณ และตอบแทนพระคุณแล้ว เรายังต้องประกาศคุณความดีของท่าน ด้วยการทำตนให้เป็นคนดี หมั่นประพฤติปฏิบัติธรรม ให้กาย วาจา ใจ สะอาดบริสุทธิ์ ดังเช่นการตอบแทนพระีุคุณโยมแม่ของพระสารีบุตร